อาสาสมัครที่ได้รับการเลื
งานกิจกรรม Thailand Citizens’ Jury on Antimicrobial Resistance (AMR) จะมีขึ้นตั้งแต่วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม – วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย งานจะเริ่มเวลา 09.00 น. และสิ้นสุดในเวลา 16.30 น. ทุกวัน
โครงการนี้ดำเนินการโดย Center for New Democratic Processes (CNDP) ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพหรือ Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP) ทำหน้าที่เป็นพันธมิตรดำเนินงานในท้องถิ่น โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก Wellcome Trust ซึ่งเป็นทรัสต์เพื่อการกุศลในสหราชอาณาจักร
ผู้จัดโครงการจะสุ่มเลือกผู้เข้าร่วม 18 คนจากกลุ่มอาสาสมัครเพื่อเข้าร่วมในงานกิจกรรมลูกขุนพลเมืองนี้
*อาสาสมัครที่ได้รับการเลื
จากการตอบรับอย่างล้นหลาม ขณะนี้ทางทีมงานได้อาสาสมัครครบตามจำนวนแล้ว จึงขอแจ้งปิดรับสมัครอาสาสมัครเพิ่มเติมสำหรับโครงการนี้
ขอขอบคุณทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
คำถามที่พบบ่อย
ลูกขุนพลเมือง (Citizens’ jury) คืออะไร?
- ลูกขุนพลเมือง (Citizens’ jury) คือการนำกลุ่มสมาชิกของชุมชนที่ได้รับเลือกแบบสุ่มมารวมกลุ่มกันเพื่อเรียนรู้ พิจารณาไตร่ตรอง และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขา
งานนี้จะจัดขึ้นเมื่อไหร่และที่ไหน?
- งานกิจกรรม Thailand Citizens’ Jury on AMR จะมีขึ้นตั้งแต่วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม – วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม เวลา 900 น. – 16.30 น. ทุกวัน งานนี้จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่จะแจ้งให้เฉพาะผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมงานเท่านั้น
ผู้เข้าร่วมจะต้องเข้าร่วมงานกิจกรรมนี้ทั้ง 4 วันไหม?
- ต้อง ผู้เข้าร่วมจะต้องเข้าร่วมงานกิจกรรมนี้ทั้ง 4 วัน
ใครมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการนี้บ้าง?
- ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ได้แก่ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและพร้อมที่จะเข้าร่วมงานทั้ง 4 วันมีสิทธิ์เข้าร่วมงานกิจกรรม Thailand Citizens’ Jury on AMR
ใครจะได้รับเลือกให้เข้าร่วมเป็นลูกขุนพลเมืองนี้?
- ผู้เข้าร่วมเป็นลูกขุนในงานกิจกรรม Thailand Citizens’ Jury on AMR จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งถูกจัดแบ่งออกเป็นชั้นภูมิเพื่อรวมกลุ่มคนที่เป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรที่หลากหลาย ในแง่ของอายุ เพศ ความสำเร็จทางการศึกษา สถานภาพการจ้างงาน และการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์
ผู้เข้าร่วมจะได้รับค่าตอบแทนไหม?
- อาสาสมัครที่ได้รับการเลื
อกและเข้าร่วมกิจกรรมตลอดทั้ งงาน จะได้รับค่าตอบแทนในการเข้าร่ วมงานจำนวน 22,000 บาท พร้อมเงินสนับสนุนค่าเดิ นทางและค่าใช้จ่ายในการรั บประทานอาหารตามจำนวนวันที่เข้ าร่วมงาน - ส่วนความช่วยเหลือด้านการเดินทางและที่พักจะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีไป
จะเป็นอาสาสมัครได้อย่างไร?
- จากการตอบรับอย่างล้นหลาม ทางทีมงานจึงขอแจ้งปิดรับสมั
ครอาสาสมัครสำหรับโครงการนี้
จะติดต่อใครได้บ้างหากต้องการความช่วยเหลือในการเป็นอาสาสมัคร?
- ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการเป็นอาสาสมัครสามารถติดต่อ chittawan.p@hitap.net or saranyu.l@hitap.net เพื่อรับการช่วยเหลือสนับสนุนได้
งานกิจกรรมนี้เป็นการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือไม่?
- ไม่ใช่ งานกิจกรรม Thailand Citizens’ Jury on AMR ไม่ใช่การศึกษาวิจัยทางการแพทย์
จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมหรือการศึกษาทางการด้านการแพทย์ การดูแลสุขภาพ วิทยาศาสตร์ หรือหัวข้ออื่นใดเพื่อเข้าร่วมหรือไม่?
- ไม่ต้อง ไม่จำเป็นต้องได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการหรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ การดูแลสุขภาพ วิทยาศาสตร์ หรือหัวข้ออื่นใดที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ได้แก่ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปสามารถอาสาเข้าร่วมได้
ใครเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนโครงการนี้?
- โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก Wellcome Trust ซึ่งเป็นทรัสต์เพื่อการกุศลในสหราชอาณาจักร
ประวัติความเป็นมาของโครงการ
Thailand Citizens’ Jury on AMR (ลูกขุนพลเมืองไทยว่าด้วยเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ) ที่ดำเนินการอยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของ Global Citizens’ Juries on AMR / UNGA 2024 High Level Meeting on AMR Project (คณะลูกขุนพลเมืองโลกว่าด้วยเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ/การประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ พ.ศ. 2567) ซึ่ง Wellcome Trust ได้ให้ทุนสนับสนุนแก่ CNDP ดำเนินการริเริ่มระดับโลกนี้ในมาลาวี ไทย และสหรัฐอเมริกา
คณะลูกขุนพลเมืองโลกว่าด้วยเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพชุดนี้จะเปิดเผยมุมมองเกี่ยวกับการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพทั่วภูมิศาสตร์ต่าง ๆ และระบุความสำคัญในการแทรกแซงเพื่อติดตามตรวจสอบและตอบสนองต่อการดื้อยาต้านจุลชีพทั้งในบริบทของท้องถิ่นและของโลก นอกจากนี้ยังจะให้ข้อมูลเชิงลึกจากประชาชนที่สามารถนำไปใช้เสริมสร้างระบบนิเวศของการวิจัยและพัฒนาโรคติดเชื้อทั้งหมดได้ ผลลัพธ์และข้อค้นพบต่าง ๆ จากโครงการนี้จะนำไปสู่การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของ Wellcome Trust และการมีส่วนร่วมในการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ พ.ศ. 2567 ในเดือนกันยายน 2567 นี้
Wellcome Trust ให้ทุนสนับสนุนโครงการนี้เพื่อรวมความคิดเห็น มุมมอง และความต้องการของผู้ที่อาศัยอยู่และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในมาลาวีและไทยเข้าไว้ในกิจกรรมการกำหนดวาระทางด้านสาธารณสุขโลกของตนที่กว้างขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อให้เข้าใจดียิ่งขึ้นว่าความคิดเห็น มุมมอง และประสบการณ์ของผู้คนและชุมชนในกลุ่มประเทศโลกใต้ ประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง (LMIC) และประชากรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด มีความสำคัญต่อการกำหนดวาระและลำดับความสำคัญด้านสาธารณสุขโลกได้อย่างไร
การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance หรือ AMR)
การดื้อยาต้านจุลชีพเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียและจุลชีพหรือจุลินทรีย์อื่น ๆ เปลี่ยนการตอบสนองต่อยา การดื้อยาต้านจุลชีพอาจทำให้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ หมดประสิทธิภาพหรือใช้ไม่ได้ผล องค์การอนามัยโลกได้จัดให้การดื้อยาต้านจุลชีพ เป็นหนึ่งใน 10 ภัยคุกคามด้านสาธารณสุขโลกที่มนุษยชาติเผชิญอยู่ ถือเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพและการพัฒนาที่สำคัญระดับโลก การดื้อยาต้านจุลชีพจะเป็นหัวข้อการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติในเดือนกันยายน 2567 นี้
สรุปภาพรวมโครงการ Thailand Citizens’ Jury on AMR
-
- สถานที่: กรุงเทพฯ ประเทศไทย
- จำนวนคณะลูกขุน: 1
- ระยะเวลาของลูกขุน: 4 วัน
- จำนวนผู้เข้าร่วม: 18 คน
- ผู้เข้าร่วมที่เป็นเป้าหมาย: ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร)
- การสรรหา: การเลือกแบบสุ่มและการแบ่งชั้นภูมิ
- ผลลัพธ์เป้าหมาย: รายงาน Thailand Citizens’ Jury on AMR; รายงานสรุปโครงการ
ผู้ให้ทุนโครงการ
โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก Wellcome Trust
พันธมิตรดำเนินงาน
โครงการประเมินการแทรกแซงด้านสุขภาพและเทคโนโลยีหรือ Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP) เป็นพันธมิตรในท้องถิ่นผู้ดำเนินงาน Thailand Citizens’ Jury on AMR